กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการโครงการทางวัฒนธรรมการประยุกต์ใช้ทุนวัฒนธรรม เพื่อต่อยอดงานวิสาหกิจหรือเป็นธุรกิจเพื่อสังคมร่วมกับหลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชุมชนย่านบางลำพู
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โดยมี ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานฯ ร่วมกับหลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชุมชนย่านบางลำพู ได้บรรยายและนำนักศึกษากว่า 80 คน เรียนรู้การทำงานวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ของชุมชนบางลำพู ที่สนับสนุนโดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
ทั้งนี้ในกิจกรรมนั้น ดร.ดนัย หวังบุญชัย ได้ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในการบรรยายเรื่อง กระบวนการจัดการโครงการทางวัฒนธรรม โดยนำประเด็นศิลปวัฒนธรรมหรือทุนวัฒนธรรมมาต่อยอดในมิติต่างๆ ในรายวิชา จวอ. 303 การจัดการโครงการทางวัฒนธรรม ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ณห้องเรียน CITU509 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อีกทั้งมีการบรรยายเรื่องราวความเป็นมาของย่านบางลำพู การต่อยอดศักยภาพชุมชนด้วยวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ณสวนสันติชัยปราการ (เดินออกจากธรรมศาสตร์ผ่านใต้สะพานพระปิ่นเกล้าเข้าสู่ถนนพระอาทิตย์ สวนสันติชัยปราการ และเข้าสู่พิพิธบางลำพู) วิทยากรพิเศษคุณปานทิพย์ ลิกขะไชย : ประธานชมรมเกสรลำพู และผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในย่านบางลำพูด้วย
จากนั้นคุณปานทิพย์ลิกขะไชย และคณะทำงานไกด์เด็กบางลำพู นำนักศึกษาลงพื้นที่เรียนรู้เรื่องราวอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม สัมผัสเสน่ห์ของชุมชนย่านบางลำพู โดยเข้าร่วมฐาน “เสน่ห์บางลำพู” ทั้ง 5 ฐานทางวัฒนธรรม ในย่านบางลำพู ณ พิพิธบางลำพู ประกอบไปด้วย
ฐานที่ 1 “ร้อยเรื่องราว เล่าสืบสานด้วยไกด์เด็กบางลำพู” การสร้างเด็กตัวเล็กในชุมชนเพื่อเรียนรู้แนวคิด กระบวนการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนย่านบางลำพูตระหนักถึงรากเหง้า ของตนเองวามเป็บางลำพูตระหนักถึงรากเหง้าแก้ไขข้อมมีความภาคภูมิใจในการเป็นไกด์ผู้นำเที่ยวชุมชนได้
ฐานที่ 2 “วัฏจักรดอกลำพู ผ่านเรื่องราวงานศิลปะ”ดอกไม้ประดิษฐ์จาก กระดาษทิชชู่สู่การพัฒนาศิลปะชุมชนบนฐานองค์ความรู้วัฏจักรดอกลำพู โดยกลุ่มชาวบ้านและผู้สูงอายุชุมชนบ้านพานถม
ฐานที่ 3 “ขนมเกสรลำพูที่ไม่ได้มีแค่เพียงเกสรเล่าเรื่องราว” การนำเสนอวัฎจักรดอกลำพูผ่านขนมเกสรลำพูด้วยแนวคิดจากการนำเรื่องราว ของดีในย่านบางลำพูนำเสนอบนลวดลาย ขนม 9 แบบ โดย คุณแก้วใจเนตรรางกูล (พี่แจ้) ผู้ถ่ายทอดของดีชุมชนบนขนมเกสรลำพู (พร้อมชิมขนมกสรลำพูข้างต้นลำพู)
ฐานที่ 4 “อาภรณ์การประดิษฐ์ชุดละครไทยด้วยทักษะงานประณีตศิลป์” เรียนรู้ทักษะฝีมือเชิงช่างจากคุณชัญญาภัค แก่นทอง (แม่อ้อย) ผู้สืบทอดงานปักชุดโขน ด้วยทักษะฝีมือการปักชุดละครไทย แห่งชุมชนเขียนนิวาส์น –ตรอกไก่แจ้ จนนำมาสู่การใช้วัสดุงานปักชุดโขน สู่เรื่องราวการปักวัฎจักรดอกลำพูเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดงานศิลปะชั้นสูงต่อไป
ฐานที่ 5 “ยลเสน่ห์บางลำพูด้วย 5 เส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน” เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนที่สามารถสร้างเศรษฐกิจชุมชนอย่างสร้างสรรค์และสร้างกระบวนการมี่ส่วนร่วมของคนในชุมชน ผ่านเส้นทางแต่ละธีม (Theme) ได้แก่ เส้นทางที่ 1 : พิพิธ ชิดชุมชน, เส้นทางที่ 2 : เดินค่ำ ย่ำบางลำพู, เส้นทางที่3 : ศรัทธา วาไรตี้, เส้นทางที่4 : เสพศิลป์ กลิ่นย่านบางลำพู และเส้นทางที่5 : ทัวร์ย่าน บางลำพู
บรรยากาศกิจกรรมเกิดขึ้นดังนี้ ...