ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รากฐาน ภูมิภาษา ปัญญาแผ่นดิน ลึกซึ้งรากเหง้า ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร

25 ตุลาคม 65 / อ่าน : 1,153

 

ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รากฐาน ภูมิภาษา ปัญญาแผ่นดิน ลึกซึ้งรากเหง้า ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร

วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ณ อาคารรัฐสถา (สว.) คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, มูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน และ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” ประจำภาคกลาง ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ เอี่ยมสำอางค์ เป็นประธานคณะทำงานภาคกลาง ดำเนินการประสานงานจัดการในครั้งนี้ ทั้งนี้ได้มีผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ , ครูบาอาจารย์ , ปราชญ์พื้นที่ นักวิชาการ และศิลปินผู้เกี่ยวข้องอีกหลากหลายมาร่วมประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เป็นเอกภาพ ไม่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

งานเริ่มต้นด้วยการนำเสนอภาพรวมการปฏิรูปด้านภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน จากนั้นมีการกล่าวต้อนรับโดย ท่านมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะกล่าวกรรมาธิการฯ กล่าวรายงาน จากนั้นรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทํางานฯ กล่าวรายงาน จากนั้นมีพิธีเปิดการสัมมนาและการบรรยายพิเศษเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” โดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการบรรยายเรื่อง ข้อมูลพื้นฐานระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทํางานฯ



ตามด้วยการแบ่งกลุ่มระดมความคิด เพื่อรับฟังความคิดเห็น จํานวน 3 กลุ่ม อาทิ 1.กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง 3.กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน และมีการนําเสนอผลการระดมความคิดกลุ่มย่อยและรับฟังความคิดเห็น ซึ่งในการระดมความคิดเห็นนี้นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ได้กล่าวในปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน" ว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนความงามและความเจริญของมนุษย์ทั้งยังเป็นรากฐาน พื้นฐาน และภูมิฐาน อันเป็นอารยะธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานของภาครัฐ โดยมีภาคเอกชนสนับสนุน แต่สำหรับภาคประชาชนอาจยังไม่ได้มีบทบาทและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การสะท้อนปัญหา การพัฒนานโยบาย การเร่งรัดติดตามและการเสนอแนะที่มีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน หัวข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปแบบสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เอกภาพ มิใช่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรมแล้ว ยังอาจตกเป็นเหยื่อทางวัฒนธรรม

สถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์กรมหาชน) นี้ต้องมีลักษณะพลังสามภาคส่วน คือ ภาคราชการ ภาคเอกชน (ธุรกิจ) ภาคประชาชน ดังเรียก ไตรภาคี ซึ่งต้องเป็นเอกภาพกันอย่างมีดุลยภาพอันเป็นเรื่องต้องลงลึกในรายละเอียดต่อไป เพราะเรื่องของศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินนี้สำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้อยู่ในมือของราชการแต่โดยลำพังเพียงเท่านั้นจึงเกิดเป็นเวทีต่างๆทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น โดยในแต่ละกลุ่มจะแบ่งศิลปินออกเป็นดังนี้ 1.กลุ่มภาษาและวรรณศิลป์ จะมี นักเขียน นักแปล สำนักพิมพ์ ภาษาถิ่น 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง จะมีแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ของดีชุมชน และ 3.กลุ่มปัญญาแผ่นดิน จะมีปราชญ์ด้านแผนโบราณ หัตถกรรม ศาสนา ประเพณี อาหาร ศิลปะการแสดง และศิลปะพื้นบ้านแขนงต่างๆ
ทั้งนี้เวทีรับฟังความคิดเห็นนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วใน 3 ภูมิภาค อาทิ ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพิษณุโลก ภาคอีสานที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งความคิดเห็นที่ได้จะถูกนำไปเพื่อการจัดตั้งซึ่งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ที่จะช่วยและดูแลศิลปินในทุกแขนงสาขาทั่วประเทศต่อไป....






ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]