สสส. ชวนเยาวชน 4 ภูมิภาคในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ถอดบทเรียนหลังรับทุนทำงานจริงในพื้นที่

24 กรกฎาคม 65 / อ่าน : 868

 


สสส. ชวนเยาวชน 4 ภูมิภาคในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ถอดบทเรียนหลังรับทุนทำงานจริงในพื้นที่
เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ.2565 ที่ห้องประชุม Lavender 2 ชั้น 3 โรงแรมทีเค พาเลซ แจ้งวัฒนะ กทม.โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ถอดบทเรียน หลังทำงานของเยาวชนทั้ง 4 ภูมิภาค

โดยมีการกล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดยอาจารย์มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และมีการปาฐกถานำ เรื่อง “สื่อจะเป็นโรงเรียนของสังคม” โดย รองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และการเสวนาหัวข้อ “วิเคราะห์ตัวอย่างจากผลงานนักสื่อสารสร้างสรรค์” โดยคุณภูวสิษฐ์ สุขใส โหนดภาคใต้ , คุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต , คุณอุมาพร ตันติยาทร โหนดภาคกลาง และดำเนินการเสวนาโดย ดร.โศภชา เอี่ยมโอภาส
จากนั้นช่วงบ่ายมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และภาพรวมกระบวนการถอดบทเรียน โดยรองศาสตราจารย์ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ตามด้วยกระบวนการถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมาของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการแบ่งกลุ่มย่อยนักสื่อสารสร้างสรรค์ 4 กลุ่มแบบคละรวม เพื่อร่วมกันบอกว่าหลังจากได้เรียนรู้ร่วมกับโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแล้ว เนื้อหาวิชาที่จำได้คืออะไร? ประโยชน์ที่นำไปใช้จากการได้เรียนรู้วิชานั้นๆ มีอะไรบ้าง? และเนื้อหาอะไรบ้างที่อยากให้มีเพิ่มเติมเข้ามา จากทั้ง 8 รายวิชาที่ได้เรียนรู้ไป ทั้ง 1.ดิจิทัลพลิกโลก 2.การสื่อสารสุขภาวะ 3.รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล 4.กฏหมายและจริยธรรมการสื่อสาร 5.การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำแผนชุมชน 6.ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง 7.การออกแบบและการผลิตสื่อ 1 และ8.การต่อยอดเป็นผู้ประกอบการกิจการออนไลน์

ซึ่งจากการถอดบทเรียนในวันนี้เยาวชน บอกว่า เนื้อหาที่มีการสอนนั้นมีแนวคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ สามารถนำไปใช้ในการเกริ่นนำ เรียบเรียงเนื้อหา เรียงลำดับความสำคัญ ของการทำสื่อได้เป็นอย่างดี แต่อยากให้มีการสอนในเรื่องของการใช้เสียงเล่าเรื่อง , การสัมภาษณ์อย่างไรให้น่าสนใจ ,เพิ่มเติมการสอนการใช้โปรแกรมแคนวา หรือแม้แต่การสอนการทำ Subtitle เพิ่มเติมมาด้วยก็ดี

ซึ่งนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในกิจกรรมในวันแรกเท่านั้น มาดูกันต่อว่า ในวันสุดท้ายของการถอดบทเรียนนั้นจะมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง และมาฟังบทสรุปกันว่า ข้อคิดและข้อเสนอแนะทั้งหมดจะมีการปรับไปใช้อย่างไรเพื่อให้เยาวชนก้าวไปสู่การเป็นนักสื่อส่รสร้างสรรค์ ที่เป็น Nano Infulencer ต่อไปในอนาคตได้ ติดตามได้ที่ www.artculture4health.com



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]