สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

22 ธันวาคม 64 / อ่าน : 1,411

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

 

              วันที่ 20-21 ธันวาคม 2564 ที่โรงแรม ทีเคพาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กทม. โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ขึ้นเพื่อพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ทั้งยังหวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคมต่อไป

           

                นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่า การพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเกิดขึ้นปีที่ 6 ภายใต้โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชนด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเครือข่ายเข้าร่วมเพื่อเป็นต้นแบบในการทำงาน ครอบคลุมใน 4 ภูมิภาค อาทิ ภาคอีสาน โดย พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ จากไทยเสรีนิวส์, ภาคเหนือ โดยคุณชัยวัฒน์ จันทิมา จากพะเยาทีวี, ภาคใต้ โดยคุณภูวสิษฏ์ สุกใส จากสงขลาโฟกัส และภาคกลาง โดยคุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากกลุ่มพลังแห่งต้นกล้า ที่ได้นำทัพเด็กและเยาวชนในภูมิภาคนั้นๆ มาร่วมโครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ จำนวนกว่า 80 คน

 

              เพื่อมาเรียนรู้การทำงานก่อนลงไปสร้างสรรค์สื่อจริง ด้วยหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน อย่าง 1. ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2. การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy : MIDL) 4. กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร  5. การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำแผนชุมชน 6.ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง 7.การออกแบบและผลิตสื่อ 8.การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต 9.การสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูและเยี่ยวยา 10.การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ 11.การต่อยอดเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ 12.การประเมินผลและการถอดบทเรียนออนไลน์ และ 13.การออกแบบและผลิตสื่อ 2

          

                 “ในการสร้างสรรค์สื่อในครั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังสังคมได้แพร่หลายมากขึ้นจึงมีการเน้นให้มีการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok หรืออื่นๆ ตามที่นำเสนอภายใต้ประเด็นที่กำหนดอย่าง 1.รองรับสังคมผู้สูงวัย 2.ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ 3.ทักษะรู้เท่าทันสื่อและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5.อัตลักษณ์ – ความดี – คนดีของสังคม ซึ่งสามารถติดตามผลงานของเยาวชนทั้งหมดในครั้งนี้ได้ที่ www.artculture4health.com/mass ครับ”  นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว


           ภายในงานมีการเรียนรู้ในรายวิชา “การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต” โดย ดร.โศภชา เอี่ยมโอภาส, การเรียนรู้รายวิชาการสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูและเยียวยา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ และอาจารย์จำรัส จันทนาวิวัฒน์, การเรียนรู้ รายวิชาการออกแบบและผลิตสื่อ 2 และรายวิชาการต่อยอดการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ โดยคุณอุมาพร ตันติยาทร, คุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และคุณแมนรัตน์  แปลกลำยอง และมีการนำเสนอโครงการย่อยของทุกทีมในแต่ละภูมิภาคก่อนจะมีการปิดงาน โดยรองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี อดีตประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ก่อนจะมีการคัดเลือกทีมที่จะก้าวเข้ามาสร้างสรรค์สื่อในโครงการครั้งนี้ในวันที่ 27 ธันวาคม นี้ มาติดตามกันต่อไปว่า จะมีทีมใด จากภาคไหนบ้างที่จะมาร่วมสร้างสิ่งดีๆ สู่สังคมไปด้วยกันกับเรา โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ ในปี 2565 บ้าง ติดตามได้ที่ www.artculture4health.com/mass




ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]