บรรยากาศงาน สสส.ประกาศแล้วผลงาน “ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ เรื่องสารคดีแม่วัยใส ฝีมือเยาวชนภาคกลาง เป็นสุดยอดผลงานสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม รับถ้วยพระราชทาน ไปครอง

28 ตุลาคม 64 / อ่าน : 1,352

บรรยากาศงาน สสส.ประกาศแล้วผลงาน “ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ เรื่องสารคดีแม่วัยใส ฝีมือเยาวชนภาคกลาง เป็นสุดยอดผลงานสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม รับถ้วยพระราชทาน ไปครอง

 

 

             วันที่ 24 ตุลาคม 2564 ที่ห้องลาเวนเดอร์ 1 โรงแรมทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่นแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานประกาศผลและมอบรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หลังเดินหน้าสร้าง “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยการบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่ ปีที่ 5 ในหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ”  ใน 7 รายวิชา อาทิ 1.ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2.การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3.รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล 4.กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร 5.การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำแหนที่ชุมชน 6.การสร้างสรรค์ และการเล่าเรื่อง และ 7.การออกแบบและผลิตสื่อ

                ซึ่งรองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี  ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา กล่าวว่า การทำงานกว่า 5 ปีของโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม เราเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น เห็นพัฒนาที่ทำให้คนได้รู้จักว่าสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมได้อย่างไร? จนตอนนี้กลายเป็นหลักสูตรที่สามารถเอามาสอนได้ สามารถเอามาอธิบายได้ว่าการเป็นสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมทำได้อย่างไร? จะฝึกฝนตนเองได้อย่างไร? ซึ่งถือเป็นเสมือนการติดอาวุธทางสติปัญญาให้กับผู้คนด้วยการทำงานในลักษณะการที่ให้สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เกิดความยั่งยืน เด็กและเยาวชนจึงเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีบุคลิกของนักสื่อสารมวลชนในยุคใหม่ ที่ต้องเป็นคนที่แสวงหาคำตอบที่มีเหตุมีผลชัดเจน และสามารถที่จะอธิบายได้ เพื่อให้เขาก้าวไปเป็นนักสื่อสารรุ่นใหม่ที่จะทำให้สื่อนั้นเป็นโรงเรียนให้กับสังคมต่อไป

                  ด้านนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่า หลังจากที่โครงการฯ ได้ลงไปให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกความชำนาญให้เกิดขึ้นต่อกลุ่มเยาวชนแกนนำในชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่น ในพื้นที่นำร้อง 4 ภูมิภาค โดยที่ภาคเหนือจัดขึ้นที่จังหวัดพะเยา โดยมีพะเยาทีวี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการประจำภาคเหนือ, ภาคอีสานที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีไทยเสรีนิวส์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการประจำภาคอีสาน, ภาคกลางที่กรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มพลังแห่งต้นกล้า เป็นผู้รับผิดชอบโครงการประจำภาคกลาง และที่ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลาโดยมีสงขลาโฟกัส เป็นผู้รับผิดชอบโครงการประจำภาคใต้  หลังจากที่เด็กและเยาวชนในแต่ละภาคใต้ลงพื้นที่ในภูมิภาคของตัวเองเพื่อสร้างสรรค์ผลงานผลปรากฏว่า มีการส่งผลงานเข้ามาประกวดกว่า 128 ผลงาน โดยทุกผลงานนั้นมีการเผยแพร่ให้ชมกันแล้วที่ www.facebook.com/MediaAsSocialSchool

           “จากการส่งผลงานเข้ามาได้แยกประเด็นในการทำงานออกเป็น 5 ประเด็นให้นักสื่อสารสร้างสรรค์ได้เลือกทำ คือ ประเด็นที่ 1 รองรับสังคมสูงวัย, ประเด็นที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ, ประเด็นที่ 3 ทักษะรู้เท่าทันสื่อ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ประเด็นที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และประเด็นที่ 5 อัตลักษณ์-ความดี-คนดีของสังคม ซึ่งจากการตัดสินของกรรมการโครงการ พบว่า ผลงานที่ดีที่สุดได้รับรางวัลชนะเลิศ ในครั้งนี้เป็นผลงานในประเด็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ เรื่องสารคดีแม่วัยใส Ep.1 ของทีม TRIPPLE BEE  จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร) รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนสนับสนุนการศึกษาและต่อยอดกิจกรรม 20,000 บาท และประกาศนียบัตรไปครอง, รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เป็นผลงานประเด็นอัตลักษณ์-ความดี-คนดีของสังคม เรื่องลวดลายเวียงกาหลง ของทีม สามเณรเชลแนล และ CTV จากโรงเรียนหนองบัวพิทยา / CTV มหาวิทยาลัยพะเยา (จังหวัดพะเยา) รับทุนสนับสนุนการศึกษาและต่อยอดกิจกรรม 15,000 บาท และประกาศนียบัตร, รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เป็นผลงานประเด็นอัตลักษณ์-ความดี-คนดีของสังคม เรื่องปราชญ์เกษตรกรของแผ่นดิน ของ ทีม ป.4 จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (จังหวัดมหาสารคาม) ) รับทุนสนับสนุนการศึกษาและต่อยอดกิจกรรม 10,000 บาท และประกาศนียบัตร ส่วนรางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาและต่อยอดกิจกรรมทีมละ 5,000 บาทและประกาศนียบัตร ได้แก่ ผลงานในประเด็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ เรื่องความกลัว ของทีมวาบิ ซาบิ  จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (กรุงเทพมหานคร), ประเด็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ของการสูบบุหรี่? ของทีม สารคดี สสส.คุณภาพ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (จังหวัดมหาสารคาม) และประเด็นอัตลักษณ์-ความดี-คนดีของสังคม เรื่องสงขลา เมืองพหุวัฒนธรรม โดยนายอชิตะ แซ่ลิ้ม และนายฆโนทัย ไชยยาว จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (จังหวัดสงขลา) และรางวัลพิเศษเพื่อคนทำงานเป็นรางวัลสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมดีเด่น ได้แก่ หนังสือพิมพ์ สงขลาโฟกัส  (จังหวัดสงขลา) โดยคุณภูวสิษฏ์ สุกใสได้รับทุนสนับสนุนและต่อยอดกิจกรรม 3,000 บาทและประกาศนียบัตร” นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว 

             “นอกจากนี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับโครงการ มีการเปิดให้บุคคลทั่วไปมาร่วมโหวตหาผลงาน Popular Vote โดยผู้ที่ร่วมโหวดผลงานนั้นมีสิทธิ์ลุ้นรับเสื้อสีเหลืองสุดเก๋ที่เป็นลิมิเด็ตอีดิชั่น เพราะมีเหลือเพียง 5 ตัวเท่านั้น โดยสามารถชมและโหวตผลงานได้ที่ www.facebook.com/watch/PunSilpPunSook ปิดรับผลการโหวตวันที่ 31 ตุลาคม 2564 และจะประกาศผลที่แฟนเพจปันศิลป์ ปันสุข วันที่ 5 พฤศจิกายน นี้...” นายดนัย หวังบุญชัย กล่าวทิ้งท้าย







ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]