เมื่อเราหอบหัวใจไป “ปลุกเมือง”

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 25 พฤศจิกายน 63 / อ่าน : 1,215


เมื่อเราหอบหัวใจไป “ปลุกเมือง”

เมื่อวันที่ 21- 22 พ.ย.ที่ผ่านมา พวกเราเหล่าทีมสปาร์คยูอีสานม่วนสุขได้มารวมตัวกันที่ จังหวัดเลย เพื่อร่วมงาน “เสียงแผ่นดินสื่อสารสุขไทเลย”ณ ถนคนเดินตลาดเลาะเลยบรรยากาศค่ำนี้อบอวลด้วยมิตรภาพและอาหารการกิน ก่อนที่พวกเราจะประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของแต่ละพื้นที่

โดย อ.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพสสส. แนะนำว่า อยากเห็นผลงานเชิงสัญลักษณ์ (งานศิลปะ) ของแต่ละพื้นที่เพื่อสะท้อนสิ่งที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ออกมา ทั้งเรื่องสารเคมี ขยะ มลพิษ และสิ่งแวดล้อม ในวันจัดแสดงผลงานของแต่ละพื้นที่อยากเห็นแกนนำเด็ก/เยาวชน เป็นพิธีกร แนะนำงาน พาเที่ยวชมงาน อีกทั้งให้พูดภาษาพื้นถิ่น และแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง เพื่อเน้นเสน่ห์ความเป็นอีสานและความเป็นพื้นถิ่น

โดยครูเซียง ปรีชา กรุณ ได้บอกเล่าความคืบหน้า พื้นที่ อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด สปาร์คลั่นทุ่ง ปลุกใจไทกุลาว่า มีกิจกรรมที่จะรณรงค์แก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในการปลูกพืช โดยเฉพาะปลูกข้าวโดยได้มีการชวนเยาวชนทำกิจกรรมให้เยาวชนปลูกผัก (และใช้แปลงผักรวมเป็นพื้นที่สร้างสรรค์) แต่ปัญหาที่พบ การหาเมล็ดพันธ์ท้องถิ่น มีเพียง 3 ชนิด จึงแก้ปัญหาด้วยการซื้อเมล็ดพันธ์ มีการทำสื่อ หุ่นฟาง(อสรพิษ) การทำหนังบักตื้อ การทำหนังสั้น และเด็กได้รับประโยชน์ การไม่ใช่สารเคมี การทำงานศิลปะ

ส่วนพื้นที่ จ. ขอนแก่น อ.สายชล สิงห์สุวรรณ ได้บอกเล่าถึงความคืบหน้าของโครงการ กับ การปลุกเปลี่ยนเมืองให้ไร้ขยะ ได้มีการ การอบรมการทำคลิป และจัดให้มีการประกวดคลิปหนังสั้น (กลุ่มละ 10 คน) มีการขยายเวลาการรับสมัคร จนถึงสิ้นเดือน ธันวาคม 63 เป็นงานยิ่งใหญ่ชิงถ้วยพระราชทาน ปัญหาที่พบในโรงเรียนที่อยากให้เข้าร่วมกิจกรรม แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับการสมัคร มีโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม แต่ให้การตอบรับและร่วมกิจกรรม เช่น ร.ร.มหาไถ่ ร.ร.กัลยาณวัตร

ในขณะที่ สาหร่าย ซื่อตรง ตัวแทนจากคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอผลการเก็บข้อมูล 3 ตลาด (ถนนคนเดิน ต้นตาล เปิดท้ายหอกาญมข.) จำนวน 156 ชุดพบปริมาณขยะที่ต้นทางจาก 3 ตลาด คือ ถุงพลาสติก และขยะเปียก แต่ในส่วนของตลาดถนนคนเดินเป็นตลาดปลอดโฟม 100% ข้อเสนอแนะจากทีมงานคณะสาธารณสุข มี 3 ประเด็น คือ

1.แนวทางในการกำจัดขยะเปียก ที่ยังไปไม่สุด คือ (ทำปุ๋ยหมัก และน้ำ EM)ไม่ทราบว่าเมื่อทำแล้วจะเอาไปต่ออย่างไร เพราะหากใช้ก็คงไม่หมดเนื่องจากมีจำนวนมาก

2.โมเดลในการกำจัดขยะเปียก (อาจเป็นของส่วน มข.) เพราะในปัจจุบันยังพบว่ามีการคัดแยกขยะเปียกจริง แต่สุดท้ายก็คือทิ้งรวม

3.เรื่องหลักสูตรที่จะมีการอบรมผู้ประกอบการค้านค้า โดยทางทีมคณะสาธารณสุขได้เสนอแนะว่า เป็นไปได้หรือไม่หากจะเป็นผู้ประกอบการในตลาดทั้ง 3 แห่ง หรือตลาดที่อื่นๆ ผู้ประกอบการร้านค้า ต้องผ่านการอบรมเรื่องขยะ การกำจัดขยะ การคัดแยกขยะ พร้อมมีใบรับรองจากทางคณะ และให้ทางตลาดถือเป็นข้อปฏิบัติ

โดย อ.ดนัย เห็นด้วย และอยากเห็นแนวทางนี้เป็นรูปธรรม จริงจัง คล้ายกับClean Food Good Test ที่เขามีตราสัญญาลักษณ์ หากทางคณะสาธารณสุขทำได้ เป็นโลโก้ โดยให้ทำก่อนในกลุ่มผู้สมัครใจ หรือมีแผน ก็ให้นำเสนอความก้าวหน้า ในช่วงสรุปงานครั้งต่อไป
ส่วนพื้นที่ท่าพระ ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น คุณอนุชิต ผลแก้ว บอกว่า ได้จัดกิจกรรมพาไปศึกษาดูงาน และกลับมาทำคลิปวีดีโอประกวดกัน โดยกลุ่มเด็กในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มีการจัดทำคลิป หนังสั้นการนำเสนอกิจกรรมกำจัดขยะในโรงเรียน
ส่วนพื้นที่สาวะถี ครูมาลี เสาร์สิงห์ นำเสนอความคืบหน้าว่า จะมีการจัดกิจกรรม Hight Light ในวันที่ 26-27 ธ.ค.63 โดยพื้นที่สร้างสรรค์ของพื้นที่สาวะถีนำเป็น 2 กิจกรรม คือ ตลาดปลอดขยะ และกิจกรรมตักบาตร กิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรมนี้ได้เสียงตอบรับจากผู้นำชุมชนเป็นอย่างดี เข้ามาร่วมกิจกรรมเป็นเจ้าของโครงการ และเด็ก ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยรณรงค์ ลดปริมาณขยะ โดยในโรงเรียนก็มีพี่เลี้ยง(ตำรวจขยะ) คอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยตักเตือนเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกที่

รวมกลุ่มคุยกันครั้งนี้ สปาร์คกันได้ยกใหญ่จริง ๆ แถมได้พลังความสำเร็จกลับบ้านด้วย



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]