สาวพิการสู่นักวิ่งมาราธอนขาเหล็ก ‘ออย ยุวดี’ posttoday

15 พฤศจิกายน 2562 / อ่าน : 957

คุยประสบการณ์กว่า 20 ปี หญิงสาวผู้เสียความปกติให้กับโรคมะเร็งกระดูกตั้งแต่วัย 14 แต่ชีวิตที่ขาดกลับเต็มเปี่ยมความสุขได้หลังจากคำบอกรักตัวเองและหันมาวิ่งมาราธอน

โดย…รัชพล ธนศุทธิสกุล

“ออย ยุวดี พันธ์นิคม” ป่วยโรคมะเร็งกระดูกต้องเสียขาและปอด 1 ข้าง กลายเป็นผู้พิการตั้งแต่เด็กอายุ 14 ปี   

กว่า 20 ปี ใช้ชีวิตแบบไม่เต็มร้อย ใครถามก็บอกตรงๆ ใครไม่รู้ก็ไม่เฉลยว่าใส่ขาเทียม กระทั่งลุกขึ้นมาบอกรักตัวเองและหันมาวิ่งออกกำลังกาย ขาเหล็กกับใจที่แกร่งกลายเป็นภาพที่ทุกๆ คนต่างชื่นชมในโลกออนไลน์ ซึ่งแม้การเปลี่ยนไม่ยิ่งใหญ่ถึงขนาดเปลี่ยนโลก แต่การพาตัวเองก้าวขึ้นอีกหนึ่งสเต็ปหลังสิ่งร้ายๆ มันก็มากพอที่จะรู้จักเธอ

เป็นคนปกติแค่ 14 ปี

สาววัย 35 ปี เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลบริษัทก่อสร้างในกรุงเทพฯ ย้อนถึงสัญญาณแรกคิดว่าอาการปวดขาในตอนรุ่งเช้าทุกๆ วัน นาน 2-3 เดือน เป็นผลจากการเล่นกระโดดยาง วิ่งไล่จับ ปิดแอบ กระทั่งทนอาการเจ็บไม่ไหว เข้าตรวจที่โรงพยาบาลทำให้พบว่าตัวเองเป็นมะเร็งกระดูก ซึ่งในตอนนั้นอายุเพียง 14 ขวบ ต้องตัดขาและให้เคมีบำบัดรักษาก้อนเนื้อมะเร็งที่ปอด

“สมัยนั้นการยับยั้งมะเร็งต้องตัดที่จุดกำเนิด เราเป็นที่ขาและลามมาที่ปอด ก็ตัดขาและให้คีโมรักษา หวังให้ก้อนเนื้อมะเร็งที่ปอด 3 ก้อนยุบ” ออยเล่าพลางเบือนหน้าขึ้นมองฟ้า นั้นเพราะไม่เพียงเธอคิดว่าโชคร้ายนี้ทำไมต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง

หลังแอดมิดวันนั้นในวันรุ่งขึ้น 08.00 น. ขาข้างซ้ายเธอก็ถูกตัดทันที และในเวลาต่อมาอีกครึ่งปีปอดอีก 1 ข้างที่ผลของการรักษาดังกล่าวครั้งที่ 8 ส่งผลข้างเคียงจนเลือดออกนัยน์ตา

“ขอหมอไปทะเล ไปภูเขา ก็ไม่ได้หมอกลัวไม่กลับมารักษา” เธอเล่าต่อว่า ความคิดในตอนนั้น มันไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้ ความรู้ของเรื่องมะเร็ง ณ ตอนนั้นคือ เท่ากับตาย ยิ่งหมอบอกว่าถ้าไม่ตัดอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี จะตาย จึงปล่อยทุกอย่างให้เป็นหน้าที่แพทย์

“เราเพิ่งเกิดมาแค่ 14 ปี เรายังไม่อยากตาย ร้องไห้ฟูมฟายแต่พอหันไปมองหน้าพ่อ น้ำตาคลอๆ เราก็เลยมีความคิดว่าเรายังไม่ได้ทดแทนบุญคุณพ่อเลย เราจะรีบตายไปไหน”

นอกจากบุพการีทำให้ลุกสู้ กำลังใจจากเพื่อนที่มาเยี่ยมบรรเทาความเศร้าและช่วยให้เธอลุกขึ้นใช้ชีวิตผ่านพ้นแม้ในวันที่เหลือขา 1 ข้าง แบบวิธีกระโดดบ้าง ใช้ไม้เท้ายันบ้าง กระทั่งได้ขาเทียมก็ค่อยๆ ปรับมาใช้โดยไม่ท้อ ถึงต่อให้เจ็บเดินได้เพียงไม่กี่ก้าว ซ้ำเกิดเป็นแผลถลอกหรือพองจากการกดทับและเสียดสีแต่ก็หัดเดินจนคล่องในที่สุด

“แรกๆ คิดเสมอทำไมต้องเป็นฉัน คิดว่าตัวเองเป็นคนที่โชคร้ายที่สุดในโลก อายุ10 กว่าเอง”

ออยคิดอยู่อย่างนั้นจนตัวเองได้เข้าไปเรียนในมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการเพื่อเรียนคอมพิวเตอร์และกศน.ต่อ โลกใบน้อยของจึงเปิดให้ได้รู้ว่ามีผู้อื่นที่สาหัสหนักกว่าอีกหลายเท่านัก แต่เขาก็เลือกสู้และยืนหยัดที่จะมีชีวิต

“เห็นคนที่หนักกว่าเรา นั่งวีลแชร์ มีแค่มือข้างเดียวใช้ได้ เราต้องเป็นคนที่ช่วยดูแล แล้วเราจะมาท้อทำไม ต้องมองว่าตัวเองเป็นคนที่โชคดีมากๆ ที่เป็นแค่นี้ที่เกิดขึ้น เราก็ต้องอยู่ไปให้ได้”

จะ ‘ปล่อย’ หรือ ‘เปลี่ยน’

“ช่วงกำลังเป็นสาวมันก็อายในการใช้ชีวิต ที่คนอื่นๆ มองเราว่าเราเป็นคนพิการ แต่ใครถามว่าทำไมเดินแปลกๆ ก็บอกตรงๆ แต่ถ้าไม่รู้จักกันก็จะพยายามนั่งไม่เดินให้เขามอง ความมั่นใจไม่ในการใช้ชีวิตอยู่ที่ 60-70 %” ออยเปิดอกพูด เพราะชีวิตเมื่อผ่านและยอมรับก็ปรับเปลี่ยนจนรู้ว่าชีวิตเกิดมาแล้วแก้ไขไม่ได้ ก็ต้องอยู่กับมันอย่างมีความสุขในชีวิตที่ไม่เต็ม 100 %

“กำลังใจเราดีมาก คิดว่าให้ทุกๆ วันมันเป็นวันที่มีความสุข ไม่ชอบมานั่งทุกข์ เรื่องเครียดมันก็มีเล็กๆ น้อยๆ แต่เราตื่นนอนมันก็หาย”

ชีวิตจึงค่อยๆ พัฒนาไปตามช่วงอายุและหลังจากนั้นเธอไม่พบปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ  ทั้งเรื่องเรียนจบปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ เอกสารสนเทศทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัย มีความรักพบกับคู่ชีวิตและสร้างครอบครัวกันอย่างมีความสุข

“คนพิการชอบคิดว่าจะต้องนั่งอยู่กับบ้าน ทำอะไรมากไม่ได้ แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถทำได้เทียบเท่าคนปกติ”

ออยบอกว่าความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงจะรับปริญญา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเลือกที่ตัวเองเป็นอีกคนที่ดีกว่าและลุกขึ้นมาดูแลใส่ใจสุขภาพ โดยเริ่มจากกินคลีน

“พอไม่ออกกำลังกายเราก็อ้วน น้ำหนัก 70 กิโลกรัม แต่การทานอาหารคลีนมันผอมลงเหลือ 60 หน่อยๆ รู้สึกสวยขึ้น (ยิ้ม) แต่กล้ามเนื้อไม่ได้กระชับอะไรมากมาย มีปัญหาหน้าเหี่ยว”

ความสวยกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน ขั้นต่อมาถึงต่อให้ความคิดไม่มีคำว่าออกกำลังกายในพจนานุกรมีชีวิต แต่เธอก็เลือกทำเบาๆ อย่างการยกดัมเบล แพลงกิ้งและสควอชกับซิทอัพ 20 นาที ต่อวัน

“ถ้าเราเปลี่ยนความคิดจากที่เราคิดว่าเราเป็นคนพิการ มีข้อจำกัดในชีวิต เริ่มจากตัวเรา ช่วยตัวเองก่อน ถ้าได้ลองทำ เราก็จะชอบในผลลัพธ์ที่ได้ ออยทานคลีนและออกกำลังกายเบาๆ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ เพราะเป็นไข้หวัดทีก็จะหนักกว่าคนอื่น มือเท้าจะชาและเกร็ง ต้องนอนโรงพยาบาล 2 ครั้ง ทุกปี”

‘บอกรักตัวเอง’ ส่งใจข้ามทุกอุปสรรค

“เราเสียขาไป เรามีความเชื่อว่าการเดินมันไม่ใช่การออกกำลังกาย ทุกๆ คนเกิดมาก็เดินได้แล้ว เดินธรรมดาไม่ใช่การออกกำลงกาย ความคิดในตอนนั้นการออกกำลังกายสำหรับเราคือการวิ่ง เล่นกีฬาได้เหงื่อชุ่มๆ แต่นี้ใส่ขาเทียมเดินนิดเดียวก็เจ็บแล้ว มันไม่ใช่อะไรที่เหมาะกับเรา” นักวิ่งสาวแกร่งแจกแจงความรู้สึก

“แต่พอเดือน พฤศจิกายน 2561 ปีที่แล้ว จู่ๆ พอทุกอย่างมันจะขยับขึ้น ก็มีความรู้สึกว่าเราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้” เธอว่าด้วยรอยยิ้มสดใส เช่นเดียวกับชีวิตต่อจากนี้ที่เธอเองก็ไม่เคยคาดคิดว่าจะกลับมาวิ่งให้สายลมปะทะหน้าได้อีกครั้งในชีวิตนี้

“บอกรักตัวเองก่อนปีใหม่ คิดว่าอยากทำ 2 เดือนนี้ให้มันดีที่สุด ก็เลยมาที่สวนสาธารณะศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และเริ่มเดินออกกำลังกาย จากที่ 300-400 เมตร จะเกิดอาการเจ็บขาแล้ว แต่ด้วยความที่ตัดสินใจไปแล้วว่าจะลองทำออกกกำลังกายปลุกให้ฝืนสู้”

อาทิตย์ผ่านไปได้ 1 กิโลเมตร ผ่านไปอีกได้ 2 กิโลเมตร และมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกว่าผลตอบรับมันดีปรับให้เกิดความชอบ และจากที่มักป่วยเข้าโรงพยาบาลยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ “รู้สึกว่าร่างกายเรามีพัฒนา และถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ น่าจะไปที่ 5-6 กิโลเมตร ก็ได้นะ”

จริงของเธอคิดเพราะไม่เพียงแค่เดินได้ตามเป้า หลังจากเพียงแค่ 8 เดือน เธอยังสามารถวิ่งได้เป็น 10 กิโลเมตร ด้วยเวลาเพียง 2 ชั่วโมง 9 วินาที พิชิตมาราธอนแรกได้เหรียญรางวัลและโล่สำเร็จอีกด้วย เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา

“จากเคยคิดว่าแค่ใจมันไม่พอ เราเป็นคนพิการต่อให้ใจมาเต็มแค่ไหนยังไงก็ไม่มีทางจบ 10 กิโลเมตรได้ แต่เราทำและพิสูจน์กับตัวเองแล้วว่าถ้าใจมันมา ไม่ว่าอุปสรรคอะไรมันก็ก้าวข้ามไปได้หมด แค่เราไปพัฒนาตัวเอง

“ก็ขอขอบคุณโครง ‘Run for new life story’ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พี่โค้ช นักโภชนาการ อาจารย์ที่ดูแล โดยเฉพาะพี่ทนง (ทนงศักดิ์ ศุภทรัพย์) ที่สอนวิ่งที่เหมาะสมจนเราวิ่งได้ ได้กลับมาเดินไปข้างๆ สามีและลูก โดยที่เรานั่งรอเขาแล้วให้เขาเดินกันไป ตอนนี้เราสามารถเดินไปข้างๆ เขาได้แล้ว ชีวิตมีความสุขมากแค่พลิกความคิดให้ใจมา มองตัวเองมีคุณค่า มันไปได้หมดจริงๆ”


ขอขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก : posttoday https://www.posttoday.com/social/goodstory/606253



 

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ 

Fanpage : RunfornewlifeStory 

Fanpage : pingsproject 

Fanpage : Thai Jogging Magazine 

Website : Runfornewlifestory

Youtube : วิ่งสู่ชีวิตใหม่ RunForNewLife Story




วิธีการใส่ MASK และทิ้งขยะให้ถูกต้อง

หน้ากากอนามัยเมื่อไช้แล้ว ควรทิ้งให้ถูกวิธีด้วยนะรู้ไหม?? เพราะหากเราใช้แล้วทิ้ง อาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ วันนี้แอดมินจึงมีวิธีการใช้และทิ้งที่ถูกต้องมาฝาก อย่าลืมนำไปใช้กันนะทุกคน แอดมินเป็นห่วง

สูตร (ไม่) ลับ ทำความสะอาด ปลอดเชื้อ ปลอดโควิด-19

เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังแพร่กระจายยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป วันนี้แอดมินจึงนำวิธีดูแลตัวเอง และทำความสะอาด พื้นที่รอบๆ ตัวให้ปลอดเชื้อ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ เป็นวิธีใดบ้าง

5 อาการสัญญาณเตือน!ของไวรัสโควิด-19

หากใครมีอาการ มีไข้สูง มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ก็ควรรีบหาหน้ากากอนามัยมาใส่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและรีบไปพบแพทย์ทันที

ออกไปไหนมาไหนช่วงนี้ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ ที่สำคัญตอนกลับบ้านต้องปลอดภัย อย่าให้โควิดเป็นของฝาก

และหากใครที่ตรวจพบว่าตัวเองมีไข้ รู้สึกไม่ปกติ ให้กักตัวอยู่ในบ้าน ไม่ออกไปพบปะสังสรรค์กับใครหรือทำกิจกรรมใดๆ นอกบ้านนะคะ ....รักกันจริงทิ้งระยะห่าง 14 วันนะคะ ....

กิจกรรมร่วมส่งไอเดียของคุณ ลุ้นรับเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จากทางโครงการ Run for new life Story

ส่งคำตอบมาเรื่อยๆ จนกว่าของจะหมด ประกาศผู้โชคดีรอบแนงรกใน live สด วันจันทร์ ที่ 30 มีนาคม 2563 เวลา 12.00 น.

บทสรุป ‘โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story’ ระยะที่ 1

ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ก่อนจะถึงบททดสอบ 10 กิโลเมตรแรกในชีวิตของบุคคลต้นแบบทั้ง 8 คน นอกจากจะมีการตรวจเช็คสุขภาพโดยโรงพยาบาลศิริราชปิยะมหาการุณย์ ทั้งก่อนและจบโครงการ ผลการตรวจพบว่าทั้ง 8 คน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น

โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-298-0987-8     โทรสาร : 02-298-0989
อีเมล : [email protected]